Skip to main content
6.พบสารเคมีรั่ว ซอยกรุงเทพกรีฑา 35 เจ้าหน้าเร่งตรวจสอบ


พบสารเคมีรั่ว ซอยกรุงเทพกรีฑา 35 เจ้าหน้าเร่งตรวจสอบ
เกิดสารเคมีไม่ทราบชนิด รั่วไหล บริเวณ ซอยกรุงเทพกรีฑา 35 เจ้าหน้าเร่งตรวจสอบ
วันนี้ (18 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งเหตุพบสารเคมีถูกทิ้งลงแหล่งน้ำ บริเวณหน้า บริษัท คอมฟอร์ม จำกัด ตรงข้ามซอย
กรุงเทพกรีฑา 35 ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง
เบื้องต้นเจ้าหน้าที่สำนักอนามัย เจ้าหน้าที่เขตสะพานสูง ดับเพลิงหัวหมาก และห้วยขวางรุดที่เกิดเหตุ พร้อมนำเครื่องตรวจวัดสารเคมีเพื่อตรวจสอบ พบเป็นสารเคมีรั่วไหลออกมากจากบริษัท คอมฟอร์ม จำกัด ลงไปที่บริเวณบ่อระบายน้ำด้านหน้าบริษัทจำนวน 3 บ่อ ทำให้น้ำในบ่อที่ 1 และบ่อที่ 2 ลักษณะของน้ำเป็นสีชมพู และบ่อที่ 3
ลักษณะเป็นสีดำมีคราบน้ำมันปะปน โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างตรวจสอบชนิดของสารเคมีดังกล่าว และป้องกันสารเคมีรั่วไหลลงสู่คลองสาธารณะ ทั้งนี้ ได้มีการกั้นบริเวณโดยรอบเพื่อป้องกันเหตุและห้ามประชาชนเข้าใกล้ในพื้นที่
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบเป็นสาร Kerosene ลักษณะเป็นของเหลวไวไฟ มีคุณสมบัติกัดกร่อน pH5 กระจายตัวในท่ออระบายน้ำหน้าโรงงานประมาณ 200 เมตร ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ใช้กระดาษซับสารที่อยู่บริเวณผิวหน้าและตักใส่ถุง และใช้สารสลายคราบไขมันฉีดพ่น เพื่อกำจัดคราบสารเคมี

Comments

Popular posts from this blog

ความปลอดภัยในการปฏิบัติการเคมี 1.1ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี          การทําปฏิบัติการเคมีส่วนใหญ่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมี อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งผู้ทําปฏิบัติการต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม โดยผู้ทําปฏิบัติการ ควรทราบเกี่ยวกับประเภทของสารเคมีที่ใช้ ข้อควรปฏิบัติในการทําปฏิบัติการเคมี และการกําจัด สารเคมีที่ใช้แล้วหลังเสร็จสิ้นปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถทําปฏิบัติการเคมีได้อย่างปลอดภัย   1.1.1 ประเภทของสารเคมี            สารเคมีมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน สารเคมีจึงจําเป็นต้องมีฉลากที่มี ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บ การนําไปใช้ และการ กําจัด โดยฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูล ดังนี้   1. ชื่อผลิตภัณฑ์   2. รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี  3. คําเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง   4. ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี                                                      ตัวอย่างของฉลาก แสดงดังรูป 1.1 บนฉลากบรรจุภัณฑ์มีสัญลักษณ์แสดงความเป็นอ
7. ตรวจสอบแล้ว! สารเคมี ใน ซ.พหลฯ24 เป็น อีลีเดียม 192 เจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเข้าตรวจสอบถังสารเคมีที่พบในซอยพหลโยธิน 24 แยก 2-1 ไม่ใช่กัมมันตรังสี ชนิดโคบอลต์60  แต่เป็นสารอีลีเดียม 192 ไม่พบการรั่วไหล คืบหน้าล่าสุดเจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยันสารเคมีที่พบไม่ใช่โคบอล์ต 60 ไม่มีการรั่วไหล ระบุเป็นอีลีเดียม 192 ใช้ตรวจรอยเชื่อมในภาคอุตฯ ระดับรังสีหมดลงแล้ว พร้อมระบุว่าแม้ตรวจจสอบพบว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้จะใช้งานและระดับรังสีหมดไปแล้ว ก็จะเคลื่อนย้ายไปไว้ที่สำนักงานเพื่อให้ประชาชนมั่นใจ โดยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากนี้สามารถตรวจสอบได้ว่าบริษัทใดเป็นผู้นำเข้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ การนำมาทิ้งไว้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการสอบสวนต่อไปเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ส่วนใครที่พบเจอวัตถุต้องสงสัยที่มีสัญลักษณ์เกี่ยวกับรังสี สามารถแจ้งได้ที่ 089-200-6243 ได้ตลอด 24 ชม. ด่วน!!  สารเคมีรั่วไหล  ย่านพหลโยธิน 24 ขณะที่เจ้าหน้าที่ปรมณูเพื่อสันติเร่งตรวจสอบ – สั่งอพยพคน เมื่อเวลาประมาณ 15.20 น. ที่ผ่านมา เ

อะตอมและสมบัติของธาตุ

อะตอมและสมบัติของธาตุ 1. แบบจำลองอะตอมของดอลตัน สสารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดเรียกว่า อะตอม ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปได้อีก 2. แบบจำลองอะตอมของทอมสัน - ค้นพบอิเล็กตรอน ที่ มีประจุไฟฟ้าลบ มีมวลประมาณ 1/2000 ของมวลของ H - โดยศึกษาพฤติกรรมของ หลอดรังสีแคโทด ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า 3. แบบจำลองของรัทเทอร์ฟอร์ด การกระเจิง ( scattering) ของอนุภาค a โดยแผ่นทองคำบางๆ รัทเทอร์ฟอร์ดพบว่ารังสีส่วนใหญ่ไม่เบี่ยงเบน และส่วนน้อยที่เบี่ยงเบนนั้น ทำมุมเบี่ยงเบนใหญ่มาก บางส่วนยังเบี่ยงเบนกลับทิศทางเดิมด้วย จำนวนรังสีที่เบี่ยงเบนจะมากขึ้นถ้าความหนาแน่นของแผ่นโลหะเพิ่มขึ้น อนุภาคมูลฐาน อนุภาค ประจุ(หน่วย) ประจุ( C) มวล( g) มวล( amu) อิเล็กตรอน -1 1.6 x 10-19 0.000549 9.1096 x 10-28 โปรตรอน +1 1.6 x 10-19 1.007277 1.6726 x 10-24 นิวตรอน 0 0 1.0