Skip to main content

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับสารเคมี (Chemical Safety)

กฎทั่วไปในการปฏิบัติงานกับสารเคมี
1. ต้องมีวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้องและปลอดภัย โดยหัวหน้าห้องปฏิบัติการมีหน้าที่ดูแลการจัดทำวิธีปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการที่ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับสารเคมี โดยอ้างอิงจาก MSDS (Material Safety Data Sheet) และ SG (Specific Gravity) ของสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการของห้องปฏิบัติการนั้น
2. บุคลากรทุกคนในห้องปฏิบัติการ ต้องได้รับการ ฝึกอบรม เพื่อให้ทราบวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย ก่อนปฏิบัติงานจริง
- ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องรู้จักสารเคมีที่ใช้ โดยการศึกษาจาก MSDS (Material Safety Data Sheet) และ SG (Specific Gravity) ที่จัดทำโดยผู้ผลิต
- มีการใช้เครื่องป้องกันอันตราย และ/หรือ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับชนิดของสารเคมี
- ต้องมีการจัดการสารเคมีที่ถูกต้อง ได้แก่ การเก็บรักษา การใช้ในห้องปฏิบัติการ และการกำจัด ต้องทำอย่างถูกต้องตามคำแนะนำใน MSDS (Material Safety Data Sheet) และ SG (Specific Gravity) รวมทั้งต้องติดฉลากบนภาชนะบรรจุสารเคมีและของเสียสารเคมีให้ถูกต้อง
- จัดทำรายการสารเคมี และปริมาณที่มีไว้ในครอบครองของสารเคมีทุกชนิดที่ใช้ในแต่ละห้องปฏิบัติ­การหรือหน่วยงาน โดยเฉพาะสารเคมีที่เป็นอันตราย มีการทบทวนรายการและปริมาณสารเคมีให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งข้อมูลหน่วยงานหรือผู้ผลิตที่ติดต่อได้ในภาวะฉุกเฉิน
- ทบทวนความจำเป็นในการใช้สารเคมีและวิธีการป้องกันอันตรายจากสารเคมี วิธีการลดอันตรายจากสารเคมีที่ดีที่สุดคือการใช้สารเคมีอันตรายให้น้อยที่สุด ดังนั้นเมื่อต้องปฏิบัติงานกับสารเคมีที่มีอันตรายสูงหรือกำจัดยาก ต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นหรือไม่ มีสารตัวอื่นที่อันตรายน้อยกว่าหรือกำจัดได้ง่ายกว่าหรือไม่
- ต้องมีระบบการเฝ้าระวังและตรวจติดตาม โดยหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อประเมินว่าบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานกำหนดหรือไม่

มาตรการส่วนบุคคล1. ต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิธีการปฏิบัติงานกับสารเคมีอย่างปลอดภัยตามที่คณะฯหรือหน่วยงานกำหนด
2. ต้องรู้จักสารเคมีที่ตนใช้ และศึกษา MSDS และ SG ของสารเคมีนั้นๆ ทั้งนี้ MSDS และ SG เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้ปฏิบัติงานเอง ในการป้องกันตนเองและระวังอันตรายได้อย่างถูกต้อง
3. ต้องปฏิบัติงานตามวิธีปฏิบัติงานที่ปลอดภัยและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

หลักทั่วไปสำหรับผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่ใช้สารเคมี
· ห้ามดื่ม กิน หรือสูบบุหรี่ในห้องปฏิบัติการ
· ห้ามเก็บอาหารและเครื่องดื่มไว้ในตู้เย็นหรือที่ใดๆ ในห้องปฏิบัติการ
· ห้ามทำการแต่งหน้าหรือใช้เครื่องสำอางในห้องปฏิบัติการ
· ห้ามใส่ contact lens เมื่อต้องทำงานสัมผัสสารเคมี
หากได้รับอุบัติเหตุสารเคมีกระเด็นเข้าตา หรือสัมผัสกับไอระเหยของสารเคมีบางชนิดโดยไม่รู้ตัวหากจำเป็นต้องใส่ contact lens ต้องสวมแว่นนิรภัย
· สวมกางเกงหรือกระโปรงที่คลุมเข่า สวมรองเท้าหุ้มส้นที่ปิดนิ้วเท้า เพื่อป้องกันขาและเท้าจากอันตรายเมื่อสารเคมีหรือภาชนะหกหล่น
รวบผมให้เรียบร้อย ไม่ควรใส่กำไล สร้อยข้อมือ หรือแหวน เมื่อทำงานกับสารเคมี
· ขณะปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ต้องสวมเสื้อกาวน์ และให้ถอดออกเมื่อออกจากห้อง
· ห้ามรบกวนสมาธิผู้ที่กำลังปฏิบัติงาน
· ห้ามนำเด็กหรือสัตว์เลี้ยงเข้ามาในห้องปฏิบัติการ เพราะอาจได้รับอันตราย และยังรบกวนสมาธิอีกด้วย
· ห้ามใช้ปากดูดปิเปตต์ ให้ใช้ลูกยางขนาดที่เหมาะสม
· ต้องใช้เครื่องป้องกันและ/หรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม ขณะปฏิบัติงานกับสารเคมี
· อ่านฉลากก่อนหยิบใช้สารเคมีทุกครั้ง เพื่อป้องกันการหยิบผิด
· ในการเทสารเคมีให้เทด้านตรงข้ามฉลากเพื่อไม่ให้สารเคมีไหลเลอะฉลาก
· การแบ่งสารเคมีมาใช้ต้องกะปริมาณให้พอดีไม่ใช้สารเคมีมากเกินกว่าที่กำหนด
· การใช้สารเคมีซึ่งเป็นพิษต่อสุขภาพที่เข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ ต้องทำในตู้ดูดไอสารเคมี (fume hood)
· การเจือจางกรด ให้เทกรดเข้มข้นลงสู่น้ำยาที่เจือจางน้อยกว่าเสมอ ควรสวมแว่นและทำในตู้ดูดไอสารเคมี

การจัดซื้อและตรวจรับสารเคมี
1. ก่อนสั่งซื้อสารเคมีต้องทราบข้อมูลการกำจัดสารเคมี โดยให้ถามจากผู้ขาย
2. เมื่อสั่งซื้อสารเคมี ต้องขอ MSDS (Material Safety Data Sheet) และ SG (Specific Gravity) ของสารเคมีนั้นจากผู้ผลิต/ผู้แทนจำหน่ายทุกครั้ง
3. ไม่ควรซื้อสารเคมีขวดใหญ่เกินไป หากเหลือใช้หรือเปลี่ยนวิธีวิเคราะห์ใหม่จะมีสารเคมีตกค้าง
4. เมื่อตรวจรับสารเคมี ต้องตรวจสภาพทั่วไปของภาชนะบรรจุว่าไม่มีรอยเปิดหรือชำรุด และฉลากระบุชื่อสารเคมีและรายละเอียดอื่นๆ บนภาชนะนั้น ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่หลุดลอก ให้บันทึกวันที่รับสารเคมีไว้ที่ข้างขวด และวงรอบวันหมดอายุให้เห็นชัดเจน วงป้ายเตือน (เช่น flammable หรือ corrosive) ด้วยปากกาทำเครื่องหมายสีแดง
5. ลงบันทึกการรับสารเคมี พร้อมทั้งลงชื่อผู้รับของและผู้ส่งของไว้เป็นหลักฐาน
6. ทำความเข้าใจ MSDS (Material Safety Data Sheet) และ SG (Specific Gravity) ซึ่งผู้ขายต้องให้มาพร้อมสารเคมี เก็บ MSDS (Material Safety Data Sheet) และ SG (Specific Gravity) เป็นหมวดหมู่ในที่เหมาะสม ให้สามารถใช้อ้างอิงได้ทันทีที่ต้องการ
7. ถ้ามีการทำสัญญาซื้อปีละครั้ง ควรทำความตกลงกับผู้ขายให้ทยอยส่งของตามปริมาณการใช้ โดยอย่าให้มีการส่งของมากเกินไปในแต่ละครั้ง เพราะต้องใช้พื้นที่เก็บมากและเก็บไว้นาน

การเก็บรักษาสารเคมี มีหลักการทั่วไปดังนี้
ก. เก็บรักษาตามคำแนะนำใน MSDS (Material Safety Data Sheet) และ SG (Specific Gravity)
ข. ควรมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับการจัดเก็บ เช่น จัดวางให้อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี จัดเก็บห่างจากแหล่งกําเนิดความร้อน เปลวไฟ หรือประกายไฟ ไม่ควรถูกแดดส่องถึงโดยตรง ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณที่เก็บสารเคมี ควรมีการดูแลความสะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ ไม่ให้มีสิ่งกีดขวางตามทางเดินรอบๆ ถ้าเป็นไปได้ควรมีห้องหรือสถานที่เก็บสารเคมีโดยเฉพาะ แยกจากห้องปฏิบัติการ
ค. ชั้นวางสารเคมีควรมีแผ่นป้ายด้านหลังและด้านข้าง และมีขอบกั้นด้านหน้า หรืออาจยกด้านหน้าของชั้นให้สูงขึ้นประมาณ 1/4 นิ้ว
เพื่อป้องกันไม่ให้ขวดสารเคมีหล่นจากชั้น
ง. ควรจัดวางสารเคมีอย่างเป็นระเบียบ ไม่หนาแน่นเกินไป
จ. ควรวางสารเคมีให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงกว่าระดับสายตา ถ้าเป็นขวดหรือภาชนะบรรจุขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากให้วางชั้นล่างสุด
ฉ. ไม่ควรจัดเก็บสารเคมีโดยเรียงลําดับตามตัวอักษรแต่ เพียงอย่างเดียว สารเคมีที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างกันได้ง่าย หรืออาจเรียก สารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ ไม่ควรวางเก็บไว้ใกล้กัน เช่น สารเคมีที่เป็นด่างไม่ควรเก็บไว้ ใกล้สารเคมีที่เป็นกรด และสารเคมีชนิดออกซิไดส์ควรจะเก็บแยกจากชนิดรีดิวซ์
ช. ภาชนะบรรจุสารเคมีต้องมีฝาปิดแน่นสนิท อากาศเข้าไม่ได้
ซ. ทำตามข้อควรระวังในการเก็บสารเคมีแต่ละประเภท ตัวอย่างข้อควรระวังที่สำคัญ เช่น
· สารกัดกร่อน ควรวางภาชนะที่บรรจุสารกัดกร่อนไว้ในถาด หรือซ้อนไว้ในภาชนะอีกชั้นหนึ่ง
· สารเคมีที่ติดไฟง่ายชนิดที่ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นชนิดกันระเบิด
· สารพิษ และสารก่อมะเร็ง ต้องเก็บในที่มิดชิด โดยใส่ตู้เก็บแยกกัน ต่างหากจากสารเคมีอื่น มีข้อความ "สารพิษ" และ "สารก่อมะเร็ง" ติดให้เห็นชัดเจน
ฌ. สารเคมีที่เหลือจากการนำออกไปใช้งานแล้ว ห้ามเทกลับลงในขวดหรือภาชนะเดิมอีก
ญ. ตรวจสอบสารเคมีเป็นระยะว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ตรวจหาสิ่งที่แสดงว่าสารเคมีเสื่อม เช่น ฝามีรอยแยก การตกตะกอนหรือแยกชั้น มีการตกผลึกที่ก้นขวด เป็นต้น สารเคมีที่เสื่อมไม่ควรเก็บไว้ใช้ต่อ ต้องนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี
ฎ. สารเคมีที่ไม่มีป้ายชื่อบอก หรือมีสารอื่นเจือปนอยู่ หรือสารใดๆ ที่ไม่ต้องการ ต้องส่งไปกำจัดทิ้งอย่างเหมาะสม

ฉลากบนภาชนะบรรจุสารเคมี ภาชนะใส่สารเคมีทุกชนิด ต้องติดฉลากที่มีข้อมูลต่อไปนี้ให้ชัดเจน
ก. ชื่อสารเคมีและส่วนประกอบที่มีความเป็นพิษของสารเคมี
ข. คำเตือนที่เฉพาะเจาะจงต่อการเป็นอันตรายของสารเคมีที่บรรจุอยู่ (hazard warning) และข้อควรระวังในการเก็บและการใช้สารเคมีนั้นๆ
ค. ชื่อผู้ผลิตและ/หรือตัวแทนจำหน่าย
ง. ข้อมูลการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
จ. บันทึกวันที่รับสารเคมีและวันเปิดใช้




การจัดให้มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่จำเป็นในห้องปฏิบัติการ
ก. มีชุดน้ำยาล้างตา หรือ น้ำเกลือ เตรียมไว้กรณีเกิดอุบัติเหตุสารเคมีเข้าตา
ข. ควรมีอ่างล้างหน้าที่สามารถเข้าไปถึงได้ทันที
ค. หากเป็นไปได้ควรมีอ่างล้างตา ซึ่งต้องดูแลให้ใช้งานได้อยู่เสมอ

การทิ้งและการกำจัดสารเคมี จากห้องปฏิบัติการ
หลักปฏิบัติเมื่อจะทิ้งสารเคมีที่ใช้แล้วหรือของเสียสารเคมีที่เกิดจากกระบวนการในห้องปฏิบัติการ มีดังนี้

ก. ปฏิบัติตามคำแนะนำใน MSDS (Material Safety Data Sheet) และ SG (Specific Gravity) ของสารเคมีแต่ละชนิด
ข. สารเคมีที่ทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทิ้งได้เลย ได้แก่
· สารละลายที่เป็นกลาง และสารระคายเคือง เช่น sodium chloride
· สารละลายบัฟเฟอร์
· สีย้อมเซลล์และเนื้อเยื่อซึ่งล้างออกจากแผ่นสไลด์
ค. สารเคมีที่สามารถทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทิ้งได้ แต่ต้องทำให้เจือจางก่อน ได้แก่
· สารกัดกร่อน เช่น hydrochloric acid, sodium hydroxide เป็นต้น สารเคมีที่เป็นกรดหรือด่างนี้ ต้องเจือจางให้ต่ำกว่า 1 M (1 โมล/ลิตร) ก่อนเททิ้งลงอ่างน้ำ และเมื่อเทลงอ่างแล้วให้เปิดน้ำล้างตามมากๆ
· สารกลุ่ม volatile organic เช่น formaldehyde ต้องเจือจางด้วยน้ำให้เป็น 0.1% ก่อนทิ้ง ส่วน glutaraldehyde ต้องเจือจางด้วยน้ำให้เป็น 1% ก่อนทิ้ง เป็นต้น
ง. สารเคมีหรือสารละลายที่ประกอบด้วยสารต่อไปนี้ ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทิ้งเด็ดขาด ได้แก่
· สารไวไฟสูง และ solvent ที่ไม่ละลายน้ำ เช่น ethyl ether, hexane, acetone เป็นต้น solvent ปริมาณไม่มาก
· สารพิษ และสารก่อมะเร็ง เช่น acrylamide, mercury, ethidium bromide เป็นต้น
· สารไวปฏิกิริยากับน้ำ เช่น โลหะโซเดียม เป็นต้น
จ. การรวบรวมของเสียสารเคมีเพื่อรอกำจัด ให้หน่วยงานปฏิบัติดังนี้
· รวบรวมสารเคมีที่ต้องทิ้งใส่ภาชนะที่ทนการกัดกร่อน เช่น ขวดแก้ว โดยแยกประเภทของแข็งหรือของเหลว และแยกตามประเภทสารเคมี
· ติดฉลากชนิดของสารเคมีและปริมาณที่อยู่ในแต่ละภาชนะ รวมทั้งวันที่ทิ้ง
· จัดเก็บตามข้อควรระวังของสารเคมีแต่ละประเภท แต่ควรแยกจากสารเคมีที่ยังเก็บไว้ใช้
· แจ้งสำนักผู้อำนวยการ แล้วรอส่งให้หน่วยงานของโรงพยาบาลนำไปกำจัดโดยบริษัทภายนอกต่อไป
ฉ. ภาชนะในห้องปฏิบัติการที่ใช้แล้วและเปื้อนสารเคมี ให้ผู้ใช้สารเคมีล้างสารเคมีจากภาชนะจนเจือจางก่อนที่จะให้เจ้าหน้าที่ล้างนำไปล้างต่อ
ช. ขวดที่เคยใส่สารเคมีแล้วจะทิ้ง ต้องนำสารเคมีออกให้หมดก่อน เช่น ขวดใส่ solvent ให้เปิดไล่ไอระเหยของ solvent ในตู้ดูดไอสารเคมีให้หมด เป็นต้นขยะที่ปนเปื้อนสารเคมีให้ทิ้งลงในถังขยะสารเคมี (ถุงรองรับสีขาว) เท่านั้น ห้ามทิ้งในถังขยะทั่วไป (ถุงรองรับสีเหลือง) หรือถังขยะติดเชื้อ (ถุงรองรับสีแดง)

Comments

Popular posts from this blog

ความปลอดภัยในการปฏิบัติการเคมี 1.1ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี          การทําปฏิบัติการเคมีส่วนใหญ่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมี อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งผู้ทําปฏิบัติการต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม โดยผู้ทําปฏิบัติการ ควรทราบเกี่ยวกับประเภทของสารเคมีที่ใช้ ข้อควรปฏิบัติในการทําปฏิบัติการเคมี และการกําจัด สารเคมีที่ใช้แล้วหลังเสร็จสิ้นปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถทําปฏิบัติการเคมีได้อย่างปลอดภัย   1.1.1 ประเภทของสารเคมี            สารเคมีมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน สารเคมีจึงจําเป็นต้องมีฉลากที่มี ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บ การนําไปใช้ และการ กําจัด โดยฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูล ดังนี้   1. ชื่อผลิตภัณฑ์   2. รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี  3. คําเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง   4. ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี                                                      ตัวอย่างของฉลาก แสดงดังรูป 1.1 บนฉลากบรรจุภัณฑ์มีสัญลักษณ์แสดงความเป็นอ
7. ตรวจสอบแล้ว! สารเคมี ใน ซ.พหลฯ24 เป็น อีลีเดียม 192 เจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเข้าตรวจสอบถังสารเคมีที่พบในซอยพหลโยธิน 24 แยก 2-1 ไม่ใช่กัมมันตรังสี ชนิดโคบอลต์60  แต่เป็นสารอีลีเดียม 192 ไม่พบการรั่วไหล คืบหน้าล่าสุดเจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยันสารเคมีที่พบไม่ใช่โคบอล์ต 60 ไม่มีการรั่วไหล ระบุเป็นอีลีเดียม 192 ใช้ตรวจรอยเชื่อมในภาคอุตฯ ระดับรังสีหมดลงแล้ว พร้อมระบุว่าแม้ตรวจจสอบพบว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้จะใช้งานและระดับรังสีหมดไปแล้ว ก็จะเคลื่อนย้ายไปไว้ที่สำนักงานเพื่อให้ประชาชนมั่นใจ โดยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากนี้สามารถตรวจสอบได้ว่าบริษัทใดเป็นผู้นำเข้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ การนำมาทิ้งไว้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการสอบสวนต่อไปเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ส่วนใครที่พบเจอวัตถุต้องสงสัยที่มีสัญลักษณ์เกี่ยวกับรังสี สามารถแจ้งได้ที่ 089-200-6243 ได้ตลอด 24 ชม. ด่วน!!  สารเคมีรั่วไหล  ย่านพหลโยธิน 24 ขณะที่เจ้าหน้าที่ปรมณูเพื่อสันติเร่งตรวจสอบ – สั่งอพยพคน เมื่อเวลาประมาณ 15.20 น. ที่ผ่านมา เ

อะตอมและสมบัติของธาตุ

อะตอมและสมบัติของธาตุ 1. แบบจำลองอะตอมของดอลตัน สสารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดเรียกว่า อะตอม ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปได้อีก 2. แบบจำลองอะตอมของทอมสัน - ค้นพบอิเล็กตรอน ที่ มีประจุไฟฟ้าลบ มีมวลประมาณ 1/2000 ของมวลของ H - โดยศึกษาพฤติกรรมของ หลอดรังสีแคโทด ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า 3. แบบจำลองของรัทเทอร์ฟอร์ด การกระเจิง ( scattering) ของอนุภาค a โดยแผ่นทองคำบางๆ รัทเทอร์ฟอร์ดพบว่ารังสีส่วนใหญ่ไม่เบี่ยงเบน และส่วนน้อยที่เบี่ยงเบนนั้น ทำมุมเบี่ยงเบนใหญ่มาก บางส่วนยังเบี่ยงเบนกลับทิศทางเดิมด้วย จำนวนรังสีที่เบี่ยงเบนจะมากขึ้นถ้าความหนาแน่นของแผ่นโลหะเพิ่มขึ้น อนุภาคมูลฐาน อนุภาค ประจุ(หน่วย) ประจุ( C) มวล( g) มวล( amu) อิเล็กตรอน -1 1.6 x 10-19 0.000549 9.1096 x 10-28 โปรตรอน +1 1.6 x 10-19 1.007277 1.6726 x 10-24 นิวตรอน 0 0 1.0